ฟุกุชิมะ: คำสุดท้ายของคนรักซูชิในจีนและฮ่องกง ก่อนแบนอาหารทะเลจากญี่ปุ่น – ข่าวบีบีซีประเทศไทย

แหล่งที่มาของภาพ เก็ตตี้อิมเมจ

“ฉันจะกินอาหารญี่ปุ่นต่อไป… มันเป็นอาหารที่ฉันเสพติด” นายโฮ ชาวฮ่องกงที่ยืนอยู่หน้าร้านอาหารทะเลญี่ปุ่นกล่าว

โฮเป็นหนึ่งในชาวฮ่องกงจำนวนมากที่แห่กันไปร้านอาหารญี่ปุ่นเพื่อทานซูชิและซาซิมิในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

อาหารทะเลจากญี่ปุ่นเป็นอาหารยอดนิยมในฮ่องกง แต่ทางการได้ประกาศคำแนะนำการบริโภคล่าสุดแล้ว หลายวันก่อนที่ญี่ปุ่นจะเริ่มปล่อยน้ำเสียนิวเคลียร์ลงสู่ทะเล

ญี่ปุ่นประกาศว่าจะเริ่มปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดและเจือจางเพื่อลดระดับกัมมันตภาพรังสีลงสู่ทะเลในเวลา 13.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันที่ 24 ส.ค. การประกาศดังกล่าวทำให้เพื่อนบ้านหลายคนไม่พอใจ

ไม่กี่ชั่วโมงหลังการประกาศของญี่ปุ่น รัฐบาลจีนได้ประกาศห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นโดยรวม เหตุผลก็คือเพื่อปกป้องผู้บริโภคในประเทศจีน

“เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหาร จากการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี…และเพื่อปกป้องผู้บริโภคชาวจีน และเพื่อให้มั่นใจว่าอาหารที่นำเข้าทั้งหมดมีความปลอดภัย กรมศุลกากรได้ตัดสินใจระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางทะเล” การนำเข้าทั้งหมดจากญี่ปุ่น (รวมถึงอาหารทะเลสด ) ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 2566″ แถลงการณ์จากกรมศุลกากรของจีน ระบุ

คาดการณ์ด้วยว่าการห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นจะมีการบังคับใช้ในฮ่องกงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

การห้ามนำเข้าอาหารทะเลของจีนส่งผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกอาหารทะเลของญี่ปุ่น จีนและฮ่องกงซื้อเกือบครึ่งหนึ่งของการส่งออกอาหารทะเลทั้งหมดจากญี่ปุ่น หรือประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

แหล่งที่มาของภาพ สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม

คำบรรยายภาพ,

ร้านขายอาหารทะเลในฮ่องกงที่นำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่น

ผู้ใช้โซเชียลมีเดียในจีนแสดงความกังวลเกี่ยวกับการปล่อยสิ่งปฏิกูลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น บางคนมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบระยะยาวต่อปลาที่ถูกส่งไปยังร้านอาหารทั่วโลก

“ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าอาหารทะเลปลอดภัยที่จะรับประทานหรือไม่ แต่การพลิกผันของกระแสหมายความว่าสิ่งนี้จะมีผลกระทบทั่วโลก” ผู้ใช้โซเชียลมีเดียรายหนึ่งใน Weibo โซเชียลเน็ตเวิร์กในจีนเขียน

Global Times สื่อที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน ตีพิมพ์การ์ตูนเกี่ยวกับดาวเคราะห์ ศีรษะมนุษย์ถูกพิษจากน้ำสีน้ำตาลจากญี่ปุ่น โดยมีธงชาติญี่ปุ่น และเทปโก ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ปรากฏอยู่ในภาพวาดการ์ตูนด้วย

ในโซเชียลมีเดีย Weibo นอกจากนี้ยังมีการสำรวจความคิดเห็นโดยผู้ใช้โซเชียลมีเดียอีกด้วย ซึ่งได้รับการตอบสนองในลักษณะเดียวกัน นั่นคือต่อต้านการปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นได้เตรียมรับมือกับผลกระทบดังกล่าวไว้ก่อนแล้ว

เจแปนไทมส์รายงานว่ารัฐบาลญี่ปุ่นกล่าวในปี 2564 ว่าจะจัดซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเพื่อช่วยเหลือชาวประมงหากปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ส่งผลเสียต่อการส่งออกอาหารทะเล โดยทางการจะจัดตั้งกองทุนเพื่อซื้ออาหารทะเลจากภูมิภาคฟุกุชิมะ รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ของญี่ปุ่นด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่ารัฐบาลญี่ปุ่นคาดการณ์เรื่องนี้ไว้หรือไม่ ที่ถูกจีนสั่งห้ามนำเข้าสินค้าทางทะเลจากทั้งประเทศเช่นนี้

แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะไม่ทำให้เกิดกัมมันตภาพรังสีในทะเลอีกต่อไป แต่การห้ามอาหารทะเลญี่ปุ่นดังกล่าวของจีนยังคงดำเนินต่อไป

แผนการปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ได้รับการรับรองจากสำนักงานติดตามนิวเคลียร์แห่งสหประชาชาติ สรุปได้ว่าผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมีน้อย

แหล่งที่มาของภาพ สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม

ในขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์หลายคนระบุว่า ความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของน้ำที่ผ่านการบำบัดต่ออาหารทะเล “ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน”

ศาสตราจารย์ จิม สมิธ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพอร์ทสมัธ ระบุว่าปริมาณรังสีที่จะไปถึงมนุษย์จะ “น้อยมาก” หากการปล่อยน้ำเสียเป็นไปตามแผนที่วางไว้

“มนุษย์ได้รับรังสีน้อยกว่าหลายพันเท่า เมื่อเทียบกับรังสีธรรมชาติที่ได้รับแล้วในแต่ละปี ศ.สมิธ กล่าว

ศาสตราจารย์ มาร์ก โฟร์แมน ผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีนิวเคลียร์จากสวีเดน กล่าวว่า คนที่รับประทานอาหารทะเลจำนวนมากจะได้รับรังสีในระดับต่ำ ซึ่งมีค่าประมาณ 0.0062-0.032 microSv (microSv) ต่อปี

โดยปกติ ปริมาณที่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์จะสูงกว่าประมาณหมื่นเท่า นั่นคือมากถึง 1,000 microSv (microSv) ต่อปี

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจะยืนยันเช่นนั้น แต่ก็ยังมีความกลัวจากหลายฝ่าย

กลับฮ่องกง มีผู้หญิงอีกคนหนึ่งรอคิวเข้าร้านอาหาร มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่น

“เฉิง” กินอาหารญี่ปุ่นทุกสัปดาห์ แต่ตอนนี้กำลังวางแผนหยุดกินและติดตามสถานการณ์ไปอีก 6 เดือนข้างหน้า ในระหว่างนี้เธอจะเปลี่ยนไปใช้อาหารทะเลจากนอร์เวย์หรือเกาหลีใต้แทน

สำหรับ “อา ยัม” นั้น BBC อีกรายหนึ่งได้พูดคุยด้วยกล่าวว่า เธอไม่คิดว่าการปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่นจะทำให้ความชื่นชอบอาหารญี่ปุ่นของเธอเปลี่ยนไป และยังให้คะแนน 9.5 เต็ม 10 สำหรับความชอบด้านอาหารญี่ปุ่นอีกด้วย

“ชอบก็กินไปเถอะมันช่วยไม่ได้”

About the author